เราบริการส่งให้ฟรีทั่วประเทศไทย

จากราคาป้ายหน้าเว๊ปไซต์ www.forkliftpta.com

วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

ปลูกพืชเสริม และเลี้ยงหมูในสวนยาง สร้างรายได้กว่าครึ่งแสน/เดือน

ปัจจุบันสถานการณ์ราคายางพาราตกต่ำ ทำให้เกิดโครงการช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางขึ้น เช่น โครงการฝึกอบรมเกษตรกรรายย่อยประกอบอาชีพเสริม และด้วยโครงการนี้เอง ทำให้เราได้พบกับคุณลุงท่านหนึ่ง 

ถ้ามองจากภายนอกแล้วก็เป็นเพียงเกษตรกรธรรมดาทั่วๆ ไปคนหนึ่ง แต่เมื่อคุณลุงท่านนี้ได้ออกมาพูดแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำอาชีพเสริมในสวนยางของตัวเองแล้ว ทำให้เราเห็นถึงความมุ่งมั่น กล้าที่จะคิด กล้าที่จะพูด และกล้าที่จะทำ.....

คุณลุงชื่อ นายแทน โชติวัชช์ อายุ 55 ปี อาศัยอยู่บ้านดงคา เลขที่ 42 หมู่ ตำบลบ้านบึง อำเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี มีพื้นที่ทั้งหมด 15 ไร่ ประกอบกิจกรรมหลากหลายชนิดและเป็นที่น่าสนใจมาก เราจึงขออนุญาตนำเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณลุงมาเผยแพร่ให้ผู้ที่สนใจได้ลองศึกษาและหากสนใจก็สามารถนำมาเป็นแนวทางในการปฏิบัติได้ 

เล้าหมูในสวนยางของลุงแทน

ย้อนกลับไปเมื่อ ปี พ.ศ. 2549 คุณลุงเริ่มปลูกยางพาราทั้งหมดจำนวน 11 ไร่ มีต้นยางประมาณ 800 ต้น และเปิดกรีดเมื่อยางอายุได้เพียง ปี ใน พ.ศ. 2555 จนถึงปัจจุบัน คุณลุงและภรรยากรีดยางเอง โดยแบ่งกรีดวันละครึ่งสวน จึงทำให้ได้กรีดยางทุกวันและขายในรูปยางก้อนถ้วยแบบเปียก

ในรอบ 15 วัน จะสะสมยางไว้ได้ประมาณ 350 กิโลกรัม พ่อค้าจะมารับซื้อถึงในสวนให้ราคาประมาณกิโลกรัมละ 19 บาท หรืออาจขึ้นลงตามสถานการณ์เศรษฐกิจในเวลานั้นๆ ถ้าคำนวณคร่าวๆ แล้ว คุณลุงจะมีรายได้จากการขายยางก้อนถ้วยเดือนละประมาณ 13,300 บาท

ในช่วงแรกผลผลิตค่อนข้างดีและราคาน่าพึงพอใจ แต่ช่วงหลังจนถึงปัจจุบัน ราคายางเริ่มตกต่ำลง คุณลุงจึงคิดหาหนทางทำให้ครอบครัวอยู่ได้โดยรายรับไม่ลดลงและรายจ่ายไม่เพิ่ม

คือ การทำให้ผลผลิตยางพาราดีเช่นเดิม แต่ต้องลดต้นทุนการผลิตลง คุณลุงมองไปที่การลดค่าใช้จ่ายเรื่องปุ๋ย และต้องมีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้

คุณลุงเริ่มต้นจากปลูกมะเขือในร่องยางพาราส่งขายตลาด แต่การปลูกผักให้สวยงามตามความต้องการของตลาด จำเป็นต้องใช้สารเคมีปริมาณมาก เมื่อทำได้ระยะหนึ่งคุณลุงจึงเลิกทำเพราะสารเคมีทำลายสุขภาพและสภาพแวดล้อม

คุณลุงจึงเปลี่ยนมาเลี้ยง หมู นอกจากจะขายหมูตัวแล้วยังสามารถนำมูลมาทำเป็นปุ๋ยได้ด้วย คุณลุงเริ่มทำคอกหมูในสวนยางโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งานแล้ว จึงไม่มีต้นทุนเกิดขึ้น ส่วนที่ต้องลงทุนคือ พันธุ์หมู จำนวน 13 ตัว ราคาตัวละ 1,300 บาท รวมเป็นเงิน 16,900 บาท แบ่งเลี้ยงแบบทั่วไป ตัว และเลี้ยงแบบหมูหลุม ตัว 
ช่วงที่หมูอายุ เดือนแรกจะให้อาหารหมูเล็กหรือเบอร์ศูนย์ ตัวหนึ่งจะให้กินทุกมื้อตามปริมาณที่หมูต้องการจนหมด15 กิโลกรัม เมื่อหมดแล้วจะเปลี่ยนเป็นอาหารเบอร์หนึ่งให้กินทุกมื้อในปริมาณที่เหมาะสมจนหมด 30 กิโลกรัม แล้วเปลี่ยนสูตรอาหารเป็นเบอร์สอง สามและสี่ตามลำดับและให้กินในปริมาณ 60, 90 และ 90 กิโลกรัมตามลำดับเช่นกัน จนถึงอาหารสูตรเบอร์ห้า สูตรนี้ให้กินเพียงเพื่อรอเวลาขาย รวมค่าอาหารทั้งหมดประมาณ 40,000 บาท

ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มเลี้ยงจนขายได้ใช้เวลาประมาณ เดือน โดยหมูแต่ละตัวจะมีน้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 80 กิโลกรัม ซึ่งจะมีพ่อค้ามารับซื้อถึงคอกราคากิโลกรัมละ 70 บาท จะได้กำไรประมาณ 15,900 บาท

นอกจากรายได้เพิ่มจากการขายหมูตัวแล้ว ยังนำมูลหมูมาทำเป็นปุ๋ยใส่ต้นยางได้ จึงช่วยลดต้นทุนการผลิตได้อีกทาง โดยมูลหมูจะให้อินทรียวัตถุสูง รวมถุงธาตุอาหารหลักและธาตุอาหารรองที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และยังช่วยบำรุงโครงสร้างของดินที่เสื่อมโทรมกลับสมบูรณ์ได้ 
มูลหมู ปุ๋ยอินทรีย์ชั้นดี ช่วยลดต้นทุน

ดินที่ใส่ปุ๋ยคอกบ่อยๆ จะเป็นดินที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชดิน มีระบายน้ำได้ดี อากาศถ่ายเทได้สะดวก ช่วยเพิ่มความคงทนให้เม็ดดิน ลดการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้อีกด้วย โดยเฉพาะเศษซากมูลจากคอกหมูหลุมที่เป็นปุ๋ยชั้นดีเลยทีเดียว

การให้ปุ๋ยมูลหมูต้นยางทำได้ง่ายๆ เพียงแค่ปล่อยให้น้ำล้างคอกหมูไหลไปตามร่องสวนยางตามธรรมชาติสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึงครึ่งหนึ่งจากปกติที่ต้องใส่ปุ๋ยเคมี ครั้งต่อปี เมื่อน้ำไหลไปจนสุดร่องสวนยางแล้ว พื้นที่ซับน้ำด้านล่างจะปลูกต้นปาล์มน้ำมันไว้ ไร่ ถัดจากต้นปาล์มน้ำมันจะเป็นบ่อน้ำที่มีปลาปล่อยไว้ตามธรรมชาติ

นอกจากนั้นยังปลูกพลูและแก่นตะวันอีกด้วย คุณลุงบอกว่าพลูใช้เวลาเพียง เดือน ก็ให้ผลผลิตแล้ว และมีอายุการให้ผลผลิตถึง20 ปี เลยทีเดียว 
ใบพลูทำรายได้เสริมเดือนละ 8,400 บาท

คุณลุงบอกว่าต้นพลูปลูกในสวนยางไม่ได้ เนื่องจากมีร่มเงามากเกินไป จึงปลูกไว้รอบๆ สวนยาง ที่มีร่มเงาบางส่วนเท่านั้น ต้นพลูเจริญงอกงามแตกยอดดีและให้ใบใหญ่ เพราะได้ปุ๋ยจากคอกหมูหลุม ตอนนี้มีต้นพลูประมาณ 400 ต้น ตัดใบได้สัปดาห์ละ 35กิโลกรัม ขายกิโลกรัมละ 60 บาท จึงมีรายได้จากพลูสัปดาห์ละ 2,100 บาท หรือเดือนละ 8,400 บาท โดยนำไปขายให้คนงานเมียนมา ที่โรงงานในอำเภอใกล้เคียงหรือบางครั้งเก็บขายให้กับพ่อค้า

ส่วนแก่นตะวันคุณลุงปลูกไว้ ไร่ บริเวณท้ายสวนยาง แก่นตะวันเป็นพืชปลูกง่าย สามารถปลูกได้ทุกฤดูโดยเฉพาะฤดูฝน ใช้เวลาปลูกประมาณ เดือนก็ขุดขายได้ วิธีปลูกคุณลุงจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 แปลงๆ ละ 1 งาน แต่ละแปลงจะปลูกห่างกัน 1 เดือน เมื่อปลูกจนครบ 4 แปลง แปลงแรกก็จะขุดหัวได้พอดี โดยอาศัยมูลหมูเป็นปุ๋ยชั้นดี ผลผลิตที่ได้เป็นที่น่าพึงพอใจ

เมื่อดอกแก่นตะวันค่อยๆ ต้นเริ่มแห้งเหี่ยวจากยอดประมาณ 50 % ของต้น ก็ให้เริ่มเก็บผลผลิตได้เลย ในการขายจะมีพ่อค้ามารับซื้อไปส่งต่อที่ตลาดศรีเมือง จ.ราชบุรี ราคากิโลกรัมละ 30 บาท ในแต่ละรอบขุดจะได้ผลผลิตประมาณ ตัน จึงมีรายได้จากแก่นตะวันเดือนละ 30,000 บาท 

แก่นตะวัน สมุนไพรคุณค่าสูง สร้างรายได้เดือนละ 30,000 บาท

ประโยชน์จากการเลี้ยงหมูไม่ใช่แค่นำมูลมาเป็นปุ๋ยในสวนยางและพืชเสริมอื่นๆ เท่านั้น ยังนำมาทำเป็นก๊าซชีวภาพได้ด้วย โดยคุณลุงได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ทางกรมฯ สนับสนุนอุปกรณ์และคู่มือการทำมาให้ศึกษา คุณลุงลองผิดลองถูกตามคำแนะนำจนสำเร็จ

โดยบ่อแรกต้องตักมูลหมูมาใส่หลุมผลิตก๊าซอยู่ตลอดไม่ปล่อยให้ก๊าซที่สะสมไว้หมด จะก่ออิฐและฉาบบ่อและทำหลังคาคลุมพลาสติกทั้งหลังเพื่อกักเก็บแก๊สไว้ จากนั้นต่อท่อจากบ่อเพื่อนำก๊าซที่ผลิตได้ไปใช้เป็นก๊าซหุงต้มในครัวเรือน ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้อย่างมาก 


ก๊าซชีวภาพจากมูลหมู เป็นเชื้อเพลิงใช้ในครัวเรือน ได้มาแบบฟรีๆ ไม่ต้องซื้อ

จากเรื่องราวทั้งหมดของคุณลุงแทน ทำให้เห็นแนวทางของการสร้างรายได้เสริมหลายๆ ทาง ในช่วงที่ยางพารากำลังตกต่ำ รวมถึงการลดต้นทุนการปลูกพืชหลักและพืชเสริม ด้วยการใช้มูลสัตว์มาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ และเป็นก๊าซหุงต้ม เป็นตัวอย่างสำหรับคนที่กำลังประสบปัญหาราคายางพาราตกต่ำ

สุดท้ายนี้คุณลุงจึงขอฝากคติการทำงานของตัวเอง คือ “ยิงปืนนัดเดียว ต้องได้นกมากกว่าหนึ่งตัว” ให้กับเพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ เกษตรกรชาวสวนยางพาราอีกด้วย

เรื่อง /ภาพ : นางพรธิพา จันทลือชา กยท.กาญจนบุรี