โดย - อุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานและสถาบันเกษตรกรยางพาราแห่งประทศไทย
อีกมุมที่ต้องจับตามอง...กับทิศทางยางพาราไทยในการก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคตในบริบทไทยแลนด์ 4.0 การยางแห่งประเทศไทยและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศผนึกกำลังจับมือร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนก้าวเดินไปด้วยกัน...
จากการที่โลกกำลังก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต อุตสาหกรรม 4.0 หรือ INDUSTRY 4.0 ปรากฏเป็นครั้งแรก อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ปี 2560-2576) และอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เป็นแผนพัฒนา 5 ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งจะเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศไทย โดยคาดหวังว่าภายใน 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะก้าวพ้นไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว และจะสามารถยกระดับรายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีเพิ่มจากปัจจุบัน 4,121 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1.5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ
จากการที่โลกกำลังก้าวเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่แห่งอนาคต อุตสาหกรรม 4.0 หรือ INDUSTRY 4.0 ปรากฏเป็นครั้งแรก อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ปี 2560-2576) และอยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 เป็นแผนพัฒนา 5 ปีแรกของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งจะเป็นแผนแม่บทหลักของการพัฒนาประเทศไทย โดยคาดหวังว่าภายใน 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะก้าวพ้นไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว และจะสามารถยกระดับรายได้ประชาชาติต่อหัวต่อปีเพิ่มจากปัจจุบัน 4,121 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 1.5 หมื่นดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับอีกมุมที่ต้องจับตามองในเรื่องนี้คือแผนดังกล่าวสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ยางพารา “ยางพาราบนบริบท ไทยแลนด์ 4.0” ซึ่งจะใช้นวัตกรรมเศรษฐกิจดิจิทัล และอุตสาหกรรมอัจฉริยะขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเข้าสู่ทิศทางการปฏิรูปภาคการเกษตรประเทศไทยให้แปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นอุตสาหกรรมตามนโยบาย สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ซึ่งปัจจุบันได้ถูกผลักดันเข้าสู่เวทีสภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศ (สปท.) เพื่อผลักดันและวาง “แนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปแก้ปัญหาเสถียรภาพราคายางพาราอย่างยั่งยืน”
นโยบาย ไทยแลนด์ 4.0 ถูกผลักดันในช่วงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี และเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติในระยะยาวถึง 20 ปี ที่รัฐบาลกำลังขับเคลื่อน และหน่วยงานของภาครัฐและเอกชนต่างออกมาขานรับในการผลักดันให้เป็นโมเดลต้นแบบของการปฏิรูปประเทศ โดยจัดแบ่งยุคเศรษฐกิจไว้ 4 ยุค สิ้นสุดในปี 2579 ซึ่งจะเป็นแนวคิด “อุตสาหกรรม 4.0 หรือ INDUSTRY 4.0” เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่โดยคาดการว่าโลกในอนาคต อุตสาหกรรมจะแข่งขันได้จะต้องยกระดับอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมอัจฉริยะ
ประเทศไทยถือเป็นผู้ผลิตยางพาราเป็นอันดับหนึ่งของโลกมาตั้งแต่ปี 2534 แต่ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันกลับขายส่งออกยางพาราเป็นรูปวัตถุดิบ โดยในปี 2558 ส่งออกในรูปวัตถุดิบถึงร้อยละ 86.33 คิดเป็นปริมาณ 3.879 ล้านตัน มีมูลค่า 170,421.29 ล้านบาท แต่กลับมีการนำยางพารามาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพียง 610,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 13.67 มีมูลค่ารวมประมาณ 476,347 ล้านบาท ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าจากตัวเลขที่แปรรูปเป็นวัตถุดิบ (ยางพารา) เพื่อเพิ่มมูลค่าเป็นผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มีตัวเลขที่แตกต่างกันมากเช่นนี้
หากถามว่าสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางจะปรับตัวอย่างไร ในยุคประเทศไทย 4.0 นั้น จากสภาพแวดล้อมทั้งด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งอุปสงค์และอุปทานของยางพาราที่ไม่สมดุลกันจะเป็นปัจจัยกดดันราคายาง ซึ่งในปี 2559 มีแนวโน้มที่ทรงตัว ถึงแม้ในบางช่วงราคาอาจผันผวนสูงขึ้นอย่างผิดปกติ เช่นเหตุการณ์ที่เกิดกลางเดือนมีนาคม แต่ขาดปัจจัยเอื้อทางบวกที่จะทำให้ราคายางพาราสูงขึ้นแต่กลับไปเหมือนในอดีตที่ยังไม่ปรากฏเห็นชัด ทั้งมีการคาดการณ์แนวโน้มและทิศทางยางพารา ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จะต้องมีเครื่องมือในการรับรู้ถึงราคายางพาราในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวในการเข้าช่วยเหลือแก้ปัญหาราคายางพารา
ขณะที่สถาบันการยางพาราแห่งประเทศไทย จะต้องสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรทั้งประเทศให้สามารถรวมกันเป็นหนึ่งเดียวตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ และเนื่องจากพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 มาตรา 9 (2) ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับยางพารา (3) สนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรชาวสวนยางจัดตั้งสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางเพื่อลงทุนดำเนินธุรกิจและอุตสาหกรรมเกี่ยวกับยางพาราตามที่คณะกรรมการกำหนด และมาตรา 49(3) จำนวนไม่เกินร้อยละ 35 เป็นการแปรรูปอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง และอุตสาหกรรมไม้ยาง ฯลฯ
ดังนั้น หากการยางแห่งประเทศไทยและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศได้จับมือร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนไปด้วยกัน โดยการยางแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจจะต้องพึ่งพาตนเองโดยการบริหารจัดการให้มีผลกำไรเลี้ยงองค์กรของตนเอง เพราะเกษตรกรชาวสวนยางทั้งประเทศมีประมาณ 1.6 ล้านครัวเรือน มีพื้นที่ปลูกยางที่สามารถให้ผลผลิตแล้ว 19,613,559 ไร่ ก็ควรเป็นของการยางแห่งประเทศไทย ที่จะต้องมาบริหารจัดการร่วมกับเกษตรกรซึ่งสามารถรวบรวมยางทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 4.699 ล้านตัน (ปี 2558) และมีเจ้าของสวนยางอยู่ในมือ ซึ่งขะผลิตปัจจัยทางการเกษตร อาทิ ปุ๋ยจ่ายให้เกษตรกรอีกปีละไม่น้อยกว่าแสนตัน นำเงินสงเคราะห์ที่ผูกพันเข้าฝากธนาคารยาง หรือ รับเบอร์ แบงก์ ของการยางแห่งประเทศไทยเอง ก็จะสามารถบริหารจัดการ ที่สามารถรักษาเสถียรภาพด้านราคายางได้
อุทัย สอนหลักทรัพย์
เพียงแต่... อาศัย พ.ร.บ.กยท. มาตรา 9 (2) (3) เพราะถ้าสถาบันเกษตรกรเข้มแข็ง คงไม่ต้องหวังพึ่งตลาดล่วงหน้าที่คอยกดราคาอยู่ เพื่อแสวงหากำไร แต่ต้องอาศัยพ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 6 (11) กำหนดยุทธศาสตร์การผลิต การจำหน่าย ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว (12 ) การกำหนดวิธีการเงื่อนไขในการซื้อขายยาง ซึ่งทางสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศได้นำเสนอไว้ในแนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปการแก้ไขปัญหาเสถียรภาพราคายางพาราอย่างยั่งยืน และใช้งบประมาณจาก พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทยมาตรา 49 (3) มาดำเนินการบขับเคลื่อนยางพาราบนบริบท ไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งจะเป็นการปฏิวัติอุตสากรรมใหม่ในอนาคต
ทั้งนี้ เพื่อทำอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง เป็นอาชีพเสริม และเป็นการเพิ่มมูลค่าอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางซึ่งต่อไปในอนาคต ประเทศไทยอาจจะเป็นอุตสาหกรรมยางพาราในระดับโลก ซึ่งเป็นการรักษาให้เกษตรกรชาวสวนยางสามารถมีอาชีพที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามแนวทางของรัฐที่กล่าวไว้ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” ตลอดไป