การผลิตยางเครพของเกษตรกร จ.หนองคาย
.
.
.
.
การซื้อยางก้อนถ้วยในการผลิตยางเครพ
.
.
การซื้อยางก้อนถ้วยในการผลิตยางเครพ จะรับซื้อยางก้อนถ้วยจากชาวบ้านเดือนละ 2 ครั้ง ๆ ละประมาณ 23 ตัน ซึ่งแต่ละครั้งจะรับซื้อห่างกัน 15 วัน ยางก้อนจะกำหนดการซื้อไว้ที่ 6-8 มีด โดยจะรับซื้อให้ราคาสูงกว่าลานประมูลยางก้อนถ้วยประมาณ 0.50 - 1 บาท
.
การผลิตยางเครพด้วยยางก้อนถ้วย
.
ในการผลิตยางเครพด้วยยางก้อนถ้วยในแต่ละวัน จะได้ปริมาณมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องจักร หรือเครื่องรีดเครพ ซึ่งขนาดของเครื่องจักรของเกษตรกรรายนี้ที่ใช้อยู่เป็นเครื่องจักรขนาด 12 นิ้ว โดยกำลังการผลิตยางเครพในแต่ละวันได้ประมาณ 3 ตัน
.
.
ขั้นตอนการผลิตยางเครพ
.
ยางก้อนถ้วยที่ซื้อจากเกษตรกร จะบรรจุใส่ถุงมา น้ำหนักต่อถุงประมาณ 40 - 45 กิโลกรัม
.
ทำการกรีดถุงพลาสติกออก แล้วผ่าแบ่งเป็น 4 ส่วน ๆ ละประมาณ 10 กิโลกรัม ในการทำยางเครพแต่ละแผ่น
.
.
.
ใส่ยางก้อนถ้วยเข้าเครื่องเครพ ประมาณ 10 กิโลกรัม การรีดเครพ จะรีดประมาณ 3-4 รอบ เพื่อให้ยางเครพหนาประมาณ 1 ซม. ส่วนความยาวจะใช้กรรไกร หรือมีดตัด ตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้น้ำหนักต่อแผ่นเฉลี่ยประมาณ 6-8 กิโลกรัม
.
โดยใช้แรงงานจำนวน 4 คน/วัน จ่ายค่าจ้างเป็นรายวัน ๆ ละ 250 บาท
.
.
.
.
เมื่อรีดเครพแล้ว จะเอาไปตากกับราวไม้ ที่มีแสงแดดร่ำไร หรือผึ่งลมไว้ประมาณ 7 วัน แล้วค่อยเก็บไว้ในโรงเก็บ พร้อมส่งขายต่อไป
.
.
.
.
.
.
เปรียบเทียบยางก้อนถ้วย กับ ยางเครพ
.
- ยางก้อนถ้วยคุณภาพดี เมื่อนำมาเครพแล้วน้ำหนักจะลดลง หรือหายไปประมาณ 20 - 30% เช่น น้ำหนักยาง ก้อนถ้วย 100 กิโลกรัม เมื่อทำเครพแล้วผึ่งไว้ 7 วัน น้ำหนัก จะหายไปเหลือประมาณ 70 - 80 กิโลกรัม..
- สาเหตุที่น้ำหนักหายไปมากหรือน้อยจะขึ่นอยู่กับคุณภาพของยางก้อนถ้วย กรีดต่ำกว่า 6-8 มีด หรือมีสิ่งปลอมปนในเนื้อยาง และส่วนผสมน้ำกรดกับน้ำ ไม่ได้อัตราส่วนทำให้ยางก้อนจับตัวกันไม่ดี
.
- ราคา ยางก้อนถ้วย ณ วันที่สอบถามข้อมูล รับซื้อราคากิโลกรัมละ 42.50 บาท และเมื่อนำไปเครพ แล้วขายจะได้ประมาณกิโลกรัมละ 61-62 บาท
..
.
เมื่อเครพแล้วไปขายที่ไหน
.
- ปัจจุบัน เกษตรกรที่ทำยางเครพ จะนำไปขายให้โรงงานที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เดือนละ 2 ครั้ง ๆ ประมาณ 15 ตัน โดยมีค่าขนส่งกิโลกรัมละ 2 บาท
.
- เร็วๆ นี้ สถาบันวิจัยยางจะดำเนินการจัดมาตรฐานยางเครพจากยางก้อนถ้วย พร้อมเปิดตลาดประมูลยางเครพจากยางก้อนถ้วย ณ สำนักงานตลาดกลางยางพาราหนองคาย เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกร
ปัญหาที่เกษตรอยากให้ภาครัฐช่วยเหลือ
- แหล่งรับซื้อหรือตลาดใกล้บ้าน
- สนับสนุนให้มีแหล่งเงินทุนกู้ยืมหมุนเวียน
- แนะนำระบบการจัดการน้ำเสีย จากการทำยางเครพ ไม่ให้เกิดมลภาวะและกลิ่นเหม็น
ที่มา http://www.rubbernongkhai.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1313:2012-09-04-07-01-20&catid=9