เราบริการส่งให้ฟรีทั่วประเทศไทย

จากราคาป้ายหน้าเว๊ปไซต์ www.forkliftpta.com

วันศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

“บิ๊กฉัตร” บี้ส่วนราชการใช้ยางพารา หนุนทำถนน เป้า 12 ตัน

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้า การใช้ยางพาราในการดำเนินโครงการของส่วนราชการ ปี 2560 ที่สหกรณ์การเกษตรรัตภูมิ จำกัด ในนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จ.สงขลา ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้ทุกหน่วยงานสนับสนุนการใช้ยางภายในประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมา หลายหน่วยงานมีความต้องการจะใช้ยางภายในประเทศ แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ ติดเรื่องของมาตรฐาน การจัดซื้อ จึงไม่สามารถดำเนินการได้ และแต่ละหน่วยงานไม่ได้ตั้งงบประมาณรองรับไว้ จำเป็นจัดประชุมเพื่อทบทวนหารือร่วมกัน
ทั้งนี้ ได้มีการสรุปการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ ปีงบประมาณ 2560 ณ วันที่ 7 กรกฎาคม 2560 มีจำนวน 9 หน่วยงานยื่นความจำนงใช้ยางพารา ได้แก่ 1.กระทรวงเกษตรฯ 2.กระทรวงกลาโหม 3.กระทรวงคมนาคม 4. กระทรวงศึกษาธิการ 5.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 6.กระทรวงสาธารณสุข 7.กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา 8.กระทรวงมหาดไทย และ 9.กรุงเทพมหานคร มีการใช้ยางพารา รวมปริมาณน้ำยางข้น 22,321.54 ตัน และยางแห้ง 2,952.66 ตัน รวมเงินงบประมาณ 1.6 หมื่นล้านบาท



พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า สำหรับปี 2561 มี 5 หน่วยงานที่ยื่นความจำนงใช้ยางพารา ได้แก่ 1.กระทรวงเกษตรฯ 2.กระทรวงกลาโหม 3.กระทรวงคมนาคม 4.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ และ 5 กรุงเทพฯ อย่างไรก็ตาม ได้สั่งการเพิ่มเติมให้หน่วยงานอื่นๆ ดำเนินการเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งตั้งงบประมาณโดยใช้งบปกติของแต่ละหน่วยงาน และแจ้งข้อมูลภายในวันที่ 1 ธันวาคมนี้ นอกจากนี้ ในระยะยาวสั่งการให้นำเอาเรื่องถนนยางพาราดินซีเมนต์ไปศึกษาในทุกหน่วยงานที่จะเกี่ยวข้องกับการทำถนน เพราะถนนดินซีเมนต์นี้จะนำไปใช้ในเรื่องของการทำซับเบส คือ ส่วนของด้านล่างของตัวชั้น ไม่ใช่ชั้นผิวถนน ซึ่งทุกผิวถนนสามารถใช้ซับเบสนี้ได้ เพราะสามารถเพิ่มปริมาณได้ถึง 12 ตัน นอกจากนี้ กรมชลประทานได้ดำเนินการทดสอบแล้ว 6 เดือนผลการทดสอบใช้ได้ถึง 18 ตัน ต่อ 1 กิโลเมตร
นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับรายการพิจารณาชนิดของผลิตภัณฑ์ยางที่นำมาใช้ในการดำเนินโครงการของส่วนราชการ มี 23 รายการ อาทิ ถุงฝายยาง แผ่นยางรองคอสะพาน ยางกันชนท่าเรือ ท่อยางดูดน้ำและส่งน้ำ แผ่นยางซึม ยางขวางถนนจำกัดความเร็ว ยางปูพื้น ยางปูพื้นลู่วิ่งลานกรีฑา เป็นตัน ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีมอก.แล้ว 22 รายการ และมีมอก.พร้อมราคากลางสำนักงบประมาณ 1 รายการ รวมทั้งยังไม่มี มอก. 1 รายการ

ที่มา : มติชนออนไลน์

วันพฤหัสบดีที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560

ITRC ปั้น 6 แนวทางพัฒนายาง ลดพท.ปลูก-เพิ่มดีมานด์10%

สภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ สรุป 6 แนวทางพัฒนายางพาราทั้งระบบ ให้ทุกประเทศใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้นปีละ 10% พร้อมเสนอตั้ง “ตลาดยางพาราระดับภูมิภาค” RRM เป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้า
พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศไทย เปิดเผยในฐานะเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีสภาไตรภาคียางพารา ประจำปี 2560 ภายใต้สภาไตรภาคียางระหว่างประเทศ (ITRC) ร่วมกับนายดาตุ๊ก เสอรี มะ ซีอีว เขี่ยว รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมการเพาะปลูกและสินค้าโภคภัณฑ์ ประเทศมาเลเซีย และ ดร.รัน ดุช แองการ์ตีอาสโต้ ลูกีตา รัฐมนตรีกระทรวงการค้า ประเทศอินโดนีเซีย ว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2559 ถึง 2560 สภาวะเศรษฐกิจโลกส่งผลกระทบต่อตลาดและราคายางทำให้มีความผันผวน ขณะที่ปริมาณผลผลิตลดลงจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง ประกอบกับเกษตรกรรายย่อยหันไปประกอบอาชีพเกษตรอื่น ๆ เป็นจำนวนมาก ด้วยเหตุนี้ ITRC และ IRCo ได้มีความพยายามในการแก้ปัญหาดังกล่าว จากการร่วมประชุมสภาไตรภาคียางระหว่างประเทศครั้งนี้ มีข้อสรุปแนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ
สำหรับข้อสรุปแนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบ 6 ประการ คือ 1.ส่งเสริมด้านอุปสงค์ เพิ่มปริมาณการใช้ยางในแต่ละประเทศให้เพิ่มมากขึ้นปีละ 10% กับการพัฒนาและดำเนินงานต่าง ๆ ทั้งการขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน กีฬาสุขภาพ ตลอดจนการแปรรูปเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค โดยจะให้ความสำคัญในการวิจัยและส่งเสริมนวัตกรรมทั้งภาครัฐและเอกชน และมีข้อตกลงร่วมกันในการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญในการใช้ยางธรรมชาติของแต่ละประเทศสำหรับก่อสร้างถนนและการปูผิวถนนใหม่
2.การจัดตั้งตลาดยางพาราระดับภูมิภาค (ITRC Regional Rubber Market : RRM) เป็นลักษณะการซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเปิดโอกาสให้นักลงทุนและผู้สนใจได้เข้ามาซื้อขายผลผลิตจากสถาบันเกษตรกรโดยตรงมากยิ่งขึ้น
3.การบริหารจัดการยางพาราทั้งระบบผ่านโครงการจัดการอุปทาน (Supply Management Scheme : SMS) เป็นการลดปริมาณผลผลิตและพื้นที่ปลูก จะเป็นมาตรการระยะยาวช่วงปี 2560-2568 เพื่อสร้างสมดุลระหว่างความต้องการใช้และปริมาณผลผลิต เป็นมาตรการเข้มข้น จะส่งผลดีให้ราคายางปรับตัวสูงขึ้น และสร้างความมั่นใจในการจัดหายางธรรมชาติให้กับผู้บริโภค
4.มาตรการจำกัดปริมาณการส่งออกยาง (Agreed Export Tonnage Scheme : AETS) หากราคายางปรับตัวลดลงจนน่าเป็นห่วง อาจจำเป็นจะต้องนำมาตรการนี้มาใช้ เพื่อช่วยกระตุ้นราคายางให้ปรับตัวสูงขึ้น
5.ITRC ทั้งสามประเทศต่างมีความเห็นร่วมกันในการรับประเทศเวียดนามเป็นสมาชิกสมทบภายใต้กรอบการทำงานของ ITRC โดยประเทศเวียดนาม ถือว่าเป็นประเทศผู้ผลิตยางรายใหม่ของโลกที่มีผลผลิตค่อนข้างสูง ฉะนั้น การมีส่วนร่วมของเวียดนามจะช่วยเพิ่มบทบาทของ ITRC ในการสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมยาง
6.การหาแนวทางใหม่เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง ในอนาคตจะปรับกลยุทธ์ในการหารือกับภาคอุตสาหกรรม เพื่อหาแนวทางสร้างรายได้อย่างยั่งยืน และเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
ที่มา https://www.prachachat.net/economy/news-42223

วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ดึง 25 ประเทศซื้อยาง ขยายคู่ค้า1.5หมื่นล้าน

พาณิชย์เปิดตลาดเจรจาซื้อขายยางพารา-ผลิตภัณฑ์นำผู้นำเข้ากว่า 100 รายใน 25 ประเทศเจรจาซื้อขายเป็นครั้งที่ 3 หวังขยายตลาดสร้างคู่ค้าใหม่ ตั้งเป้าสั่งซื้อ 1.5 หมื่นล้าน

นางมาลี โชคลํ้าเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าหลังจากได้ประสบความสำเร็จในการเจรจาค้ายางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา ระหว่างผู้นำเข้าต่างประเทศและผู้ประกอบการไทย 2 ครั้งที่ผ่านมา โดยครั้งแรกจัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีเมื่อปี 2558 และที่กรุงเทพฯปี 2559 ซึ่งครั้งแรกมีผู้นำเข้า 58 บริษัทจาก 17 ประเทศ เช่น จีน อิหร่าน ญี่ปุ่น สเปน ฟิลิปปินส์ อินเดียบังกลาเทศสหรัฐฯ รัสเซีย อังกฤษบราซิลมีปริมาณสั่งซื้อรวม 5.85 แสนตัน มูลค่าสั่งซื้อ 3.37 หมื่นล้านบาท ส่วนครั้งที่ 2 มีผู้นำเข้า 147 บริษัท จาก 28 ประเทศ เช่น จีน ไต้หวัน ซูดานแอฟริกาใต้อังกฤษ อิตาลี เยอรมนี รัสเซียเบลารุสโปแลนด์ เนเธอร์แลนด์ เป็นต้นมีปริมาณสั่งซื้อยางพาราธรรมชาติ รวมปริมาณสั่งซื้อ 2 แสนตัน มูลค่าสั่งซื้อ 1.96 หมื่นล้านบาท

มาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
มาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ


จากความสำเร็จดังกล่าวกรมจึงได้จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นอีกเป็นครั้งที่3ในวันที่2สิงหาคมนี้ที่กรุงเทพฯ คาดจะมีผู้นำเข้ากว่า 100 ราย จาก 25 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วม เช่น ประเทศในแถบอาเซียนอินเดีย บังกลาเทศ จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป รัสเซีย อียิปต์ ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน ตุรกี อาร์เจนตินาและสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้ประกอบการไทยเกือบ 100 ราย เข้าร่วมการเจรจาธุรกิจในครั้งนี้

สำหรับผู้นำเข้ายางและผลิตภัณฑ์ยางรายใหญ่จากต่างประเทศที่ตอบรับเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ เช่น ผู้นำเข้าจากจีนอาทิบริษัทชิงต่าวดับเบิ้ลสตาร์ฯ,บริษัท ชิงต่าว เซนทูรี่ ไทร์ฯ,บริษัทกวางโจวซิโน รับเบอร์ฯ ,บริษัทบาเรซ อินดัสเตรียล คอมเพล็กซ์ จากอิหร่าน, บริษัท คาเร็กซ์ เบอร์ฮัด จากมาเลเซีย และบริษัทเดอะ เซาเทิร์น รับเบอร์ อินดัสตรี จากเวียดนาม เป็นต้น ด้านผู้ประกอบการไทยรายสำคัญที่เข้าร่วมงานเช่นบมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสตรี,บมจ.ไทยฮั้วยางพารา, บจก.วงศ์บัณฑิต และสหกรณ์กองทุนสวนยางอ.บ่อทอง จำกัด เป็นต้น

“กรมมั่นใจว่ากิจกรรมครั้งนี้จะช่วยขยายตลาดและสร้างพันธมิตรกับคู่ค้ารายใหม่โดยสินค้ายางพาราที่ได้รับความสนใจเช่น ยางล้อ ยางธรรมชาติ ถุงมือยาง ยางคอมพาวด์ และผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆครั้งนี้จะเกิดมูลค่าการซื้อขายกว่า 1.5 หมื่นล้านบาท”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,284 วันที่ 3 -5 สิงหาคม พ.ศ. 2560

วันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

กระทรวงเกษตรฯ คิกออฟ ให้หน่วยงานรัฐใช้ยางพารา ดัน กยท. ส่งล๊อตแรก 100 ตัน ถึงมือกรมชลฯ



 

       กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินหน้า โครงการส่งเสริมใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ อย่างเต็มสูบ โดย การยางแห่งประเทศไทย ปล่อยขบวนรถขนยางล๊อตแรก ให้แก่กรมชลประทานเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานด้านการชลประทาน ในปี 2560 


        ถือเป็นส่งเสริมการใช้ยางในประเทศตามโครงการส่งเสริมการใช้ยางในภาครัฐ เบื้องต้น กยท. ต้องส่งแผ่นรมควันอัด จำนวน 100 ตัน ในสต๊อกโครงการพัฒนาศักยภาพสถาบันเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางและโครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนรักษาเสถียรภาพราคา ที่จัดเก็บในโกดังทุ่งสงเฟอร์นิเจอร์ 1 อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช และโกดังขุนทะเล อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี โดยวันนี้ได้เริ่มต้นทยอยส่งมอบยางจากทั้ง 2 โกดัง จำนวนประมาณ 40 ตัน ซึ่งจะดำเนินการส่งมอบยางให้กลับกรมชลประทานจนครบ 100 ตัน ต่อไป
        ด้าน นายธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้นำเรื่องถนนยางพาราดินซีเมนต์ไปศึกษาต่อในทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการทำถนน เพราะในส่วนของถนนดินซีเมนต์ที่จะนำมาใช้ จะเป็นส่วนซัพเบทด้านล่างของชั้นถนนไม่ใช่ชั้นผิวถนน เพราะฉะนั้นทุกผิวถนนสามารถใช้ยางนี้ไปทำเป็นซัพเบทได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณการใช้ยางมากขึ้นจากเดิมที่เป็นถนนแอสฟัลท์ มีการใช้ยางพาราเพียง 5-8% แต่ถ้าทำเป็นถนนยางพาราดินซีเมนต์ สามารถเพิ่มได้ถึง 12 ตัน/กิโลเมตร(กม.)







ที่ kapook.com

วันอังคารที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เกษตรกรในจะนะตัดใจโค่นยางปลูก “มัลเบอร์รี่” ขายสร้างรายได้เดือนละ 4 หมื่น

เกษตรกรในจะนะตัดใจโค่นยางปลูก “มัลเบอร์รี่” ขายสร้างรายได้เดือนละ 4 หมื่น

เครดิต: MANAGER.CO.TH
  • 1 วันที่ผ่านมา
  • แสดงผล 4 ครั้ง
เกษตรกรในจะนะตัดใจโค่นยางปลูก “มัลเบอร์รี่” ขายสร้างรายได้เดือนละ 4 หมื่น
         
       ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - เกษตรกรชาวสวนยางพารา ในพื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ตัดใจโค่นสวนยางพารา และหันมาทำสวน “มัลเบอร์รี่” จนประสบความสำเร็จ สร้างรายได้เดือนละประมาณ 4 หมื่นบาท
       
       วันนี้ (17 ก.ค.) ที่สวนมัลเบอร์รี่ บ้านป่างาม ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา ของ นายเสกสรร ชูเขียว อายุ 46 ปี ซึ่งเดิมทีปลูกยางพาราประมาณ 8 ไร่ แต่หลังจากที่ราคายางพาราผันผวน และค่อนข้างตกต่ำ จึงหันมาปลูกพืชทางเลือกใหม่ เช่น มัลเบอร์รี่ ตามคำแนะนำของเกษตรอำเภอจะนะ เพื่อหารายได้เสริม
       
       จากนั้นจึงลงทุนโค่นสวนยางพารา จำนวน 5 ไร่ จากที่มีอยู่ 8 ไร่ หันมาปลูกมัลเบอร์รี่ เมื่อ 4 ปีก่อน จากช่วงแรกที่ปลูกต้นแม่พันธุ์เพียงแค่ 3 ต้น จนขณะนี้ขยายพื้นที่ปลูกเต็มทั้ง 5 ไร่ จำนวน 800 ต้น และเป็นแปลงต้นแบบการปลูกมัลเบอร์รี่ใน อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งมัลเบอร์รี่ปลูกง่าย ใช้เวลาแค่ 4-5 เดือน ก็สามารถเก็บผลขายได้แล้ว
         
เกษตรกรในจะนะตัดใจโค่นยางปลูก “มัลเบอร์รี่” ขายสร้างรายได้เดือนละ 4 หมื่น
         
       โดยทุกวันนี้สามารถเก็บมัลเบอร์รี่ขายได้วันละ 10-20 กิโลกรัม หรือเฉลี่ยเดือนละประมาณ 200 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 200 บาท มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 4 หมื่นบาทต่อเดือน นอกจากนี้ ยังแปรรูปเป็นน้ำมัลเบอร์รี่ขายอีกด้วย
       
       และยังทำการตอนกิ่งมัลเบอร์รี่ ส่งขายให้แก่เกษตรกรที่สนใจปลูกใน 3 ราคา คือ กิ่งขนาดเล็ก 100 บาท กิ่งขนาดกลาง 300 บาท และกิ่งขนาดใหญ่ 500 บาท ซึ่งแต่ละเดือนจะมีลูกค้าสั่งเข้ามาไม่ต่ำกว่า 100 กิ่ง ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้เพิ่ม
       
       นอกจากนี้ ที่สวนของ นายเสกสรร ยังทำแบบเชิงเกษตรทฤษฎีใหม่ หรือเกษตรผสมผสานตามแนวพระราชดำริ โดยนอกเหนือจากสวนยางพารา และปลูกมัลเบอร์รี่แล้ว ยังมีพืชผัก และผลไม้อีกหลายชนิดตามฤดูกาล เพื่อสร้างรายได้ต่อเนื่องตลอดทั้งปี
         
เกษตรกรในจะนะตัดใจโค่นยางปลูก “มัลเบอร์รี่” ขายสร้างรายได้เดือนละ 4 หมื่น
        
เกษตรกรในจะนะตัดใจโค่นยางปลูก “มัลเบอร์รี่” ขายสร้างรายได้เดือนละ 4 หมื่น